เว็บไซต์ dentalcouncil.or.th มีการเก็บ Cookies ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์


การใช้งาน Cookie ของ dentalcouncil.or.th

  • เพื่อช่วยจดจำข้อมูลเกี่ยวกับเบราว์เซอร์และการตั้งค่าของท่าน และช่วยให้ท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ได้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้บริการ
  • เพื่อช่วยประเมินประสิทธิภาพและผลการให้บริการเว็บไซต์ที่ยังทำงานได้ไม่ดีและควรปรับปรุง
  • เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าเยี่ยมชมและใช้บริการเว็บไซต์

  • การใช้งานเว็บไซต์
    Cookie ทีมีความจำเป็น เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์
    จำเป็น

ข่าวประชาสัมพันธ์

ปวดฟันแล้วกินยา แต่ไม่ไปพบทันตแพทย์คือ การระเบิดเวลา


ปวดฟันแล้วกินยาแต่ไม่ไปพบทันตแพทย์ คือการวางระเบิดเวลา


  • การทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด ถือว่าเป็นวิธียอดฮิตที่ใคร ๆ ก็ทำเพราะช่วยลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี หรือในบางรายทานยาแก้ปวดไปแล้วอาการปวดฟัน ก็หายเป็นปลิดทิ้ง จึงทำให้การทานยาแก้ปวดกลายเป็นวิธีแรกที่ทำเมื่อเกิดอาการปวดฟัน แม้ว่าอาการปวดฟันจะหายไป แต่การกระทำนี้ก็เหมือนวางระเบิดเวลา
  • ปวดฟันกินยา แต่ไม่ไปพบทันตแพทย์ ทำไมถึงเป็นระเบิดเวลา เนื่องจากการทานยาแก้ปวดนั้น ช่วยลดอาการปวดได้ในระยะสั้น หรือบางรายก็ไม่มีอาการปวด ทำให้หลายคนคิดว่าไม่เป็นอะไรแล้ว แต่ในความเป็นจริงการทานยาเป็นแค่การบรรเทาอาการปวดเท่านั้น สาเหตุของโรคก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม ในระยะยาวอาการปวดอาจจะกำเริบ และร้ายแรงกว่าเดิม ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดฟันจึงควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะการรักษาที่ถูกจุดก็อาจจะไม่จำเป็นต้องทานยา


ข้อเสียของการซื้อยามาทานเอง

  1. ไม่ได้รักษาสาเหตุของโรค  การใช้ยาแก้ปวดเพียงแค่บรรเทาอาการปวดชั่วคราว แต่ไม่ได้แก้ไขสาเหตุที่แท้จริง เช่น ฟันผุ โรคเหงือก หรือการติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้ปัญหารุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และการละเลยปัญหาอย่าง ฟันผุ หรือโรคเหงือก อาจทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น เช่น การสูญเสียฟัน การละลายของกระดูกขากรรไกร หรือการเกิดโรคเรื้อรังในช่องปาก นอกจากนี้ การทานยาแก้ปวดไม่ได้ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  2. แพ้ยา  บางรายอาจจะมีอาการแพ้ยาบางชนิด การทานยาเองอาจจะทำให้อาการแพ้กำเริบได้ ซึ่งทำให้เกิด ผื่นคัน หายใจลำบาก หากมีอาการแพ้ยารุนแรงอาจจะทำให้เกิดอาการช็อกได้
  3. ส่งผลเสียต่อร่างกาย  หากซื้อยามาทานเอง บางรายอาจจะใช้ยาผิดวิธี ทานยาเกินขนาดส่งให้ตับทำงานหนัก ยาบางชนิดหากทานมากเกินไปอาจจะส่งผลทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร


  เนื่องจากโรคฟันจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อมีฟันเสียหายไปมากแล้ว หากฟันผุ อาการจะแสดงออกมาเมื่อผุใกล้โพรงประสาทฟัน ถ้าผุเล็กน้อยจะไม่มีแสดงอาการใด ๆ ฉะนั้นควรไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจฟันและรักษา หากทานยาแก้ปวด ไม่รีบรักษาเมื่อเกิดอาการก็อาจจะต้องรักษาแบบอื่น "จากค่าใช้จ่ายจากการอุดฟันหลักร้อย จะเปลี่ยนเป็นค่ารักษารากฟันหลักพันหลักหมื่นได้"



ขอบคุณข้อมูลจาก ทพ.วิวัฒน์ ฉัตรวงศ์วาน

#TDC10 #30ปีทันตแพทยสภา #TDC30TH #ครบรอบ30ปีทันตแพทยสภา

หัวข้ออื่น ๆ :