เว็บไซต์ dentalcouncil.or.th มีการเก็บ Cookies ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์


การใช้งาน Cookie ของ dentalcouncil.or.th

  • เพื่อช่วยจดจำข้อมูลเกี่ยวกับเบราว์เซอร์และการตั้งค่าของท่าน และช่วยให้ท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ได้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้บริการ
  • เพื่อช่วยประเมินประสิทธิภาพและผลการให้บริการเว็บไซต์ที่ยังทำงานได้ไม่ดีและควรปรับปรุง
  • เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าเยี่ยมชมและใช้บริการเว็บไซต์

  • การใช้งานเว็บไซต์
    Cookie ทีมีความจำเป็น เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์
    จำเป็น

ประวัติความเป็นมา

วันก่อตั้งของทันตแพทยสภา

ทันตแพทยสภามีฐานะเป็นนิติบุคคลและก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2537 ตามกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537”

ทันตแพทยสภามีวัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพในทางการทันตแพทย์
2. ส่งเสริมความสามัคคี และผดุงเกียรติของสมาชิก
3. ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
4. ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม
5. ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการทันตแพทย์และการทันตสาธารณสุข
6. ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการทันตแพทย์และการทันตสาธารณสุข
7. เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศไทย

บทบาทและหน้าที่ของทันตแพทยสภา

  • 1. รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
  • 2. วินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ในการที่ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมถูกกล่าวหา หรือถูกกล่าวโทษว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม คือ
    • 2.1 ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
    • 2.2 ว่ากล่าวตักเตือน
    • 2.3 ภาคทัณฑ์
    • 2.4 พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี
    • 2.5 เพิกถอนใบอนุญาต
  • 3. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาทันตแพทยศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพทันตกรรมของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิกทันตแพทยสภา
  • 4. รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพทันตกรรมของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพทันตกรรม
  • 5. รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (4)
  • 6. ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพทันตกรรม
  • 7. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทันตแพทยสภา

ความหมายของวิชาชีพทันตกรรม

  • 1. วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์
  • 2. เกี่ยวกับการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด หรือการป้องกัน
    • 2.1 โรคฟัน
    • 2.2 โรคอวัยวะที่เกี่ยวกับฟัน
    • 2.3 โรคอวัยวะในช่องปาก
    • 2.4 โรคขากรรไกรและกระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร
  • 3. การกระทำทางศัลยกรรม และการกระทำใดๆ ในการบำบัด บูรณะและฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร
  • 4. การทำฟันในช่องปาก

องค์ประกอบของทันตแพทยสภา

คณะกรรมการทันตแพทยสภา ประกอบด้วยจำนวนคณะกรรมการซึ่งมีแหล่งที่มาของกรรมการ 3 แหล่ง รวม 46 คน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • 1. กรรมการโดยตำแหน่ง รวม 18 คน
    • 1.1 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข 1 คน
    • 1.2 นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ 1 คน
    • 1.3 คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ 16 คน
  • 2. กรรมการโดยการแต่งตั้งจาก 3 กระทรวง รวม 5 คน
    • 2.1 กระทรวงสาธารณสุข 3 คน
    • 2.2 กระทรวงกลาโหม 1 คน
    • 2.3 กระทรวงมหาดไทย 1 คน
  • 3. กรรมการจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกทันตแพทยสภา รวม 23 คน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง