สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม ปี 2551
สิทธิ์เบิกได้
สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากทางราชการได้ตามอัตราไม่เกินกว่าที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนดไว้ ดังนี้ - การอุดฟัน - การถอนฟัน - การผ่าฟันคุด, การผ่าตัดอื่นๆ เกี่ยวกับช่องปากและขากรรไกร - การรักษาโรคปริทันต์ - การรักษารากฟัน - การแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติ - การเคลือบฟลูโอไรด์ทั้งปาก - การใส่เฝือกฟัน - การฟอกสีฟันที่ตายแล้ว - การใส่เครื่องมือปิดช่องเพดานโหว่ ( สอบถามราคาได้ที่หน่วยบริการทันตกรรมของรัฐทุกแห่ง) โดยนำใบเสร็จจากสถานพยาบาลของรัฐ ไปเบิกจากหน่วยงานต้นสังกัดของท่าน หรือ ท่านทำบัตรระบบจ่ายตรง ( on line) ณ สถานพยาบาลของรัฐที่ท่านทำการรักษาอยู่ ภายใน 1 ปีนับจากวันที่ระบุในใบเสร็จ แต่ท่านไม่สามารถเบิกจ่ายได้ในกรณี เคลือบหลุมร่องฟัน, ฟอกสีฟันมีชีวิต, ใส่เครื่องมือจัดฟันทุกกรณี ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป ข้าราชการสามารถเบิกค่าใช้จ่ายการใส่ฟันเทียมพลาสติกถอดได้ และครอบฟัน (ดูกำหนดราคาได้ที่สถานพยาบาลของรัฐ) แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายตรง ต้องสำรองจ่ายเงินแล้วนำใบเสร็จไปเบิกคืนภายหลัง
สิทธิ์ประกันสังคม
สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากสำนักงานประกันสังคม ได้ครั้งละ 250 บาท จำนวน 2 ครั้งต่อปี ตามรายการดังนี้ - การอุดฟัน - การขูดหินปูน - การถอนฟัน และการใส่ฟันเทียมถอดได้ฐานพลาสติก (ฟันเทียมไม่เกิน 5 ซี่ เบิกได้ 1200 บาท , มากกว่า 5 ซี่เบิกได้ 1400 บาท) โดยนำใบเสร็จจากสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ได้ แนบกับใบรับรองการรักษาจากทันตแพทย์ (ที่มีเลขใบประกอบโรคศิลปะ) ไปเบิกคืนกับสำนักงานประกันสังคมภายใน 1 ปีนับจากวันที่ระบุในใบเสร็จ
สิทธิ์บัตรทอง
สามารถไปรักษาทางทันตกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ณ โรงพยาบาลของรัฐที่ระบุในบัตรทอง ดังต่อไปนี้ - การอุดฟัน - การรักษาโรคปริทันต์ - การถอนฟัน - การผ่าฟันคุด, การผ่าตัดอื่นๆ เกี่ยวกับช่องปากและขากรรไกร - การเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี - การรักษารากฟันน้ำนม - การใส่เครื่องมือปิดช่องเพดานโหว่ - การใส่ฟันเทียมพลาสติกแบบถอดได้ ระยะเวลา 5 ปี / ชิ้น ( สอบถามสิทธิ์บัตรทองได้ที่สถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง) โดย คณะทำงานการสื่อสารกับประชาชน / คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค / ทันตแพทยสภา13.1.1 ฟันและรากฟัน