“รพ.ทันตกรรม” คืออะไร ยังไงนะ ?
“รพ.ทันตกรรม” คืออะไร ยังไงนะ ?
ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนอาจจะได้เห็นได้ยินคำว่า “รพ.ทันตกรรม” ผ่านหูผ่านตากันตามหน้าข่าวต่างๆอยู่บ้าง และก็อาจจะมีหลายคนสงสัย (เหมือนผู้เขียน) ว่า เอ๊ะ “รพ.ทันตกรรม” คืออะไร? มีที่มาที่ไปอย่างไร? วันนี้เป็นโอกาสดีที่ทีมประชาสัมพันธ์ ทันตแพทยสภาได้พูดคุยกับหนึ่งในคณะทำงานที่ร่วมผลักดันเรื่องนโยบาย“รพ.ทันตกรรม” จึงอยากนำเนื้อหาเล็กๆ น้อยๆ มาร่วมแบ่งปันกับพี่ๆ น้องๆหมอฟันที่กำลังติดตามเรื่องนี้อยู่
รพ.ทันตกรรม คืออะไร ?
ตอบอย่างกระชับที่สุดคือ “รพ.ทันตกรรม” คือ หนึ่งในนโยบายทางสาธารณสุขที่ต้องการผลักดันให้บริการทันตกรรมมีการเข้าถึง (Accessibility) และมีประสิทธิภาพ(Efficiency) เพิ่มขึ้น
รพ.ทันตกรรม มีที่มาที่ไปอย่างไร ?
จากการการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 15 ปีที่ผ่านมา คนไทยเข้าถึงบริการทันตกรรมคงที่ คือประมาณร้อยละ 9 แม้จำนวนทันตแพทย์จะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 2 เท่า ซึ่งถือว่ามีอัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะผู้มีสิทธิ UC และผู้อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด
อีกทั้งทุกกลุ่มวัยยังมีปัญหาสุขภาพช่องปากในระดับสูง จากรายงานผลการสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พบว่า ประชากรประมาณ 50% มีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา
ในขณะที่จากการทบทวนข้อมูลเทียบกับประเทศอื่นๆ พบว่า มีหลายประเทศที่มีการข้อมูลการใช้บริการทันตกรรมมากกว่าประเทศไทย
กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องการผลักดันนโยบายที่จะช่วยให้ การเข้าถึงบริการทันตกรรมมีการเข้าถึง (Accessibility) เพิ่มขึ้น จากการศึกษาและทบทวนข้อมูล จึงเกิดเป็นแนว นโยบาย รพ.ทันตกรรม ซึ่งเบื้องต้นมีการนำเสนอรูปแบบการนำนโยบาย รพ.ทันตกรรม ไปใช้ใน 2 รูปแบบ แบบที่ 1 คือโมเดล Chain dental clinics มีแนวคิดคือการเพิ่มคลินิกทันตกรรมนอกโรงพยาบาล โดยแต่ละจุดมีขนาด 4 – 16 ยูนิต โดยกลุ่มงานทันตกรรม(เดิม)ยังอยู่ ใน รพ. แต่ปรับบริการโดยเน้นขยายงานเฉพาะทางและงานด้านวิชาการ แบบที่ 2 คือ โมเดล Dental hospital มีแนวคิดคือการเพิ่มตึกทันตกรรม 5 ชั้น 30 ยูนิต โดยกลุ่มงานทันตกรรม(เดิม) ยังอยู่ใน รพ. แต่ปรับบริการสำหรับงานที่ต้องเชื่อมต่อกับสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล เช่น งานที่ใช้ห้องผ่าตัด
ค่าเฉลี่ย งาน/คน ของทันตแพทย์โรงพยาบาลสังกัด สป. สธ. เป็นเท่าไหร่ ?
จากการทบทวนข้อมูลพบว่า ค่าเฉลี่ยงานต่อคน ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลในสังกัด สป. สธ. ปี 2566 โดยรวมอยู่ที่ 1.6 งานต่อคน และค่าเฉลี่ย Productivity ของผู้ให้บริการอยู่ที่ 2,357 งานต่อปี
ปัจจุบันมีหน่วยงานไหนบ้างที่แสดงความจำนงเข้าร่วมบ้างแล้ว?
Timeline การขับเคลื่อนนโยบาย รพ.ทันตกรรมเป็นอย่างไร?
สุดท้ายคณะทำงานเรื่องนโยบาย รพ.ทันตกรรม ที่ทางทีมประชาสัมพันธ์ได้พูดคุยด้วย ก็ย้ำว่า “รพ.ทันตกรรม” ไม่จำเป็นจะต้องสร้างตึกใหม่ก็ได้ แต่ต้องสร้างบริการที่ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการทันตกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโจทย์หลักจริงๆของเรื่องนี้